ผลเลือด Positive คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับโรคเอชไอวี วันนี้เราจะไปหาคำตอบกัน
โรคเอชไอวี คืออะไร
โรคเอชไอวี เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Human Immunodeficiency Virus และมีชื่อเรียกย่อๆ ว่า HIV (เอชไอวี) เชื้อเอชไอวีนั้น มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์แรกที่พบบนโลก ได้แก่ เอชไอวี-1 (HIV-1) ซึ่งแพร่ระบาดในแถบ อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา ต่อมาได้ค้นพับอีกหนึ่งสายพันธุ์ คือ เอชไอวี-2 (HIV-2) แพร่ระบาดในแถบ แอฟริกาตะวันตก นอกจากนี้ เชื้อเอชไอวียังมีสายพันธุ์ย่อยๆ อีกมาก เนื่องจากสามารถกลายพันธุ์ได้ง่ายมาก
โรคเอชไอวีสามารถพัฒนาเชื้อ เจริญเติบโตอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้ และกลายเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์
ติดเชื้อเอชไอวีแล้วยังไง ?
หากท่านใด ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไวรัสนี้จะมุ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันของท่าน ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิต้านทานของเราค่อยๆ เสื่อมลง ไม่ได้มีอาการให้เราทราบในทันที แต่มักจะค่อยๆ แสดงอาการออกมาในภายหลัง เนื่องจากภูมิคุ้มกัน อยู่ในระดับต่ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง ไม่สามารถกำจัดเชื้อของโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ หรือที่เราเรียกว่าระยะขั้นสุดท้าย ของการติดเชื้อเอชไอวี หรือระยะเอดส์นี่เอง ในระยะนี้จะทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนขึ้นกับเรามากมาย ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เสียชีวิตในที่สุด ตัวอย่างโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคเชื้อราต่างๆ
ทำความเข้าใจใหม่กับคำเหล่านี้
• ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หมายความว่า ผู้ที่ได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว แต่ยังคงมีความแข็งแรงปกติ ไม่มีการแสดงอาการใดๆ สามารถใช้ชีวิตได้ดังคนปกติ และจะต้องเข้ารับการรักษา ทานยาต้านไวรัสสม่ำเสมอ เพื่อให้เชื้อไม่พัฒนาไปถึงระยะสุดท้าย
• ผู้ป่วยเอดส์ หมายความว่า ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวี เข้าสู่ร่างกาย และไม่มีการรักษาในระยะ1 และ 2 จนกระทั่งภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ได้รับความเจ็บป่วยจากเชื้อฉวยโอกาส โดยหากผู้ป่วยเอดส์ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคฉวยโอกาสสามารถหายได้
• ภูมิคุ้มกัน หมายความว่า ระบบป้องกันของร่างกายเป็นกลไก ที่ช่วยขจัดสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาสู่ร่างกายโดยการสร้างภูมิคุ้มกัน ขึ้นมาแล้วกำจัดออกไป
• โรคฉวยโอกาส หมายความว่า โรคที่อาศัยช่วงที่ร่างกาย มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งปกติหากเรามีภูมิคุ้มกันดี จะสามารถกำจัดเชื้อเหล่านี้ด้วย เชื้อฉวยโอกาส เช่น วัณโรค ปอดอักเสบชนิด PCP(Pneumocystis Carinii Pneumonia) หรือเชื้อราเยื่อหุ้มสมอง
ทำอย่างไร ถึงจะป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธุ์ได้ หากเราเป็นนักรัก หรือ One Night Stand
• การใช้ถุงยางอนามัย การสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธุ์ ถือเป็นวิธีป้องกันที่ดีและมีค่าใช้จ่ายน้อย อีกทั้งยังป้องกันได้อย่างมีมีประสิทธิภาพสูง ข้อดีของการสวมถุงยางอนามัย นอกจากป้องกันเอชไอวีแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์อื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ซิฟิลิส หนองใน มะเร็งปากมดลูก
• การกินยาเพร็พ (PrEP ย่อมาจาก Pre Exposure Prophylaxis) เป็นยาที่เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะสามารถช่วยป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ โดยทานต่อเนื่องในทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนที่คิดหรือคาดว่าจะไปรับความเสี่ยง โดยสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากกว่า 90 % แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% และไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้
การวินิจฉัยผลเลือดเอชไอวี
การตรวจเอชไอวี สามารถทำได้หลายทาง คือ ตรวจจากเลือด ตรวจน้ำลาย หรือในต่างประเทศ อาจมีการตรวจจากปัสสาวะ สำหรับในไทยนั้นจะตรวจจากเลือดเป็นส่วนใหญ่ โดยทุกคนสามารถไปตรวจที่โรงพยาบาลรัฐได้ฟรีปีละ 2 ครั้ง หากเป็นเอกชนก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 500 – 3,000 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล โดยผลตรวจที่เราได้รับก็จะสามารถแสดงผลได้อย่างง่ายๆ คือ positive, reactive, negative, non-reactive, detected, undetected
- ผลเลือด Positive คืออะไร สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีหมายถึง ตรวจพบเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้สามารถแสดงเป็นอย่างอื่นได้อีก คือ reactive และ detected
- ผลเลือด Negative คืออะไร สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีหมายถึง ตรวจไม่พบเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้สามารถแสดงเป็นอย่างอื่นได้อีก คือ Non-reactive และ undetected
การตรวจเลือดที่โรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อที่จะเข้าสู่ระบบการรักษาได้ง่ายขึ้น แต่อีกทางเลือกหนึ่งที่ภาครัฐสร้างขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ก็คือ