ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร ในการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีนั้น เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนิยมทำกัน และวิธีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองก็จะนิยมแบบ ตรวจ ANTI-HIV คือการตรวจหาภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี โดยส่วนใหญ่สามารถตรวจได้เมื่อเสี่ยงมาแล้วกว่า 3-4 สัปดาห์ และให้ผลที่แม่นยำมากขึ้น เมื่อเสี่ยงมาเกิน 1 เดือน เนื่องจากพ้นระยะฟักตัว หรือที่เรียกว่า Window period
นอกจากการตรวจแบบ ANTI-HIV แล้ว ยังมีวิธีการตรวจแบบอื่นๆ อีกประมาณ 3 วิธีหลักๆ ได้แก่
1. ตรวจ p24 Antigen เป็นการตรวจหาโปรตีน p24 ของเชื้อเอชวี สามารถตรวจได้เมื่อรับความเสี่ยงมาประมาณ 2 สัปดาห์ ข้อเสียของการตรวจวิธีนี้ คือ ผลตรวจถูกรบกวนได้ง่ายจากปัจจัยต่างๆ อีกทั้งหากตรวจพบว่าเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง
2. การตรวจ NAT สามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาล และเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างไม่แพร่หลายเท่าไหร่นัก สามารถตรวจได้เมื่อรับความเสี่ยงมาประมาณ 1 สัปดาห์
3. การตรวจแบบ ANTI-HIV และ p24 Antigen ในชุดตรวจเดียวกัน สามารถตรวจได้เมื่อรับความเสี่ยงมาประมาณ 2 สัปดาห์ การตรวจแบบนี้จะมั่นใจได้มากกว่า แต่ถ้าหากผลตรวจออกมาพบเพียง p24 Antigen ท่านจะต้องตรวจอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสี่ยงมาครบ 21-30 วัน เหลือมากกว่า 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม ในการตรวจเอชไอวี แพทย์มักจะแนะนำให้มาตรวจอีกครั้งเมื่อครบ 30 วัน และตรวจซ้ำอีกที่ 60-90 วัน เสมอ เพื่อความมมั่นใจว่าผู้ถูกตรวจ ติดเชื้อหรือไม่
การวินิจฉัยผลเลือดในการตรวจหา HIV
โดยทั่วไปแล้วการแสดงผลเลือดจะสามารถแปรผลได้เป็น 2 ผล ได้แก่ Reactive และ Non-Reactive ซึ่งไม่ว่าในใบผลตรวจจะมีความงุนงงแค่ไหน ก็มักจะปรากฏคำใดคำนึง เสมอ
– ผลเลือด non reactive แปลว่าอะไร
ผลเลือด non reactive, Non-reactive, Non-Reactive, Negative, negative ไม่ว่าจะรูปแบบไหนในนี้ก็จะสามารถแปลผลได้ว่า ผลเลือดของคุณเป็นลบ หมายความว่า ไม่พบการติดเชื้อเอชไอวี
– ผลเลือด reactive แปลว่าอะไร
ผลเลือด reactive, Reactive, Positive, positive ไม่ว่าจะรูปแบบไหนในนี้ก็จะสามารถแปลผลได้ว่า ผลเลือดของคุณเป็นบวก หมายความว่า มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี และแพทย์มักจะทำการตรวจซ้ำอีกเพื่อความมั่นใจ
อย่างไรก็ตามบางครั้งผลตรวจอาจจะออกมาเป็น Invalid, Inconclusive ซึ่งหมายความว่าผลการตรวจมีปัญหาแปลผลไม่ได้ ทำแก้ไขคือ ทำการตรวจใหม่อีกครั้ง
ไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง (ขั้นตอนทั่วไปที่มักจะทำกัน)
สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย แล้วอยากได้ผลการตรวจเร็วๆ ต้องทำใจ เพราะนอกจากจะต้องต่อคิวเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาแล้ว การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีนั้น เป็นสิ่งที่มีผลต่อความรู้สึกและอ่อนไหวมาก เมื่อผลตรวจออกมาแล้ว พบว่าไม่มีการติดเชื้อคุณก็คงจะสบายใจ แต่หากผลออกมาพบว่าคุณติดเชื้อเอชไอวี แน่นอนว่าต้องมีความรู้สึกต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ถาโถมเข้ามาแน่นอน ดังนั้นในการตรวจเลือดจึงมีขั้นตอนของมันดังนี้
1. ตรวจสอบคุณสมบัติผู้มาตรวจเลือด หรือ การซักประวัติคนไข้นั่นเอง ในข้อนี้ขอให้คุณตอบตามความจริง เพราะจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณมากกว่า
2. ลงชื่อรับรองว่า คุณเป็นผู้สมัครใจและยินยอมให้ตรวจเลือด ขั้นตอนนี้ต้องทำก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากการตรวจเลือดเอชไอวีต้องมาจากความสมัครใจและยินยอมให้ตรวจ หากไม่มีเอกสารการลงชื่อยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะผิดข้อกฎหมายได้
ดังนั้นก่อนการตรวจเลือดจะมีเจ้าหน้าที่หรือคุณพยาบาล มาอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการตรวจเลือดและผลจากการตรวจเลือด ให้ผู้มาตรวจเข้าใจก่อน และให้ลงชื่อลงบนเอกสารแสดงความสมัครใจ ยินยอมให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อแสดงว่าไม่ได้ถูกบังคับให้ตรวจ เป็นไปด้วยความสมัครใจ ยินยอม และเพื่อแสดงว่าผู้มาตรวจนั้นเข้าใจในกระบวนการตรวจจริงๆ
3. แนะนำ-ปรึกษาก่อนการตรวจ เพื่อให้ผู้มาตรวจนั้นมีความเข้าใจถึงผลเลือด และพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงการดำเนินชีวิตหลังจากทราบผลตรวจ ชี้แนะให้รับรู้และมีการวางแผนเอาไว้ว่าควรจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากผลตรวจพบว่าไม่ติดเชื้อ ผู้มาตรวจจะได้หลบเลี่ยงความเสี่ยงได้ แต่หากพบว่าติดเชื้อก็จะได้ไม่รู้สึกเคว้งคว้างมากนัก เพราะอย่างน้อยก็ทราบว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป ในขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้มาตรวจได้ทบทวนและตัดสินใจอีกครั้งว่าจะดำเนินการตรวจต่อไปหรือไม่
4. ดำเนินการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี
การตรวจเลือดเอชไอวีในขั้นแรกจะเป็นการตรวจแบบคัดกรอง จะตรวจโดยวิธีรู้ผลเร็ว โดยทำการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วประมาณ 3 ซีซี และทำการตรวจเอชไอวีด้วยวิธีรู้ผลเร็ว
การแปรผลการตรวจจะมี 2 แบบ คือ Reactive และ Non-Reactive
– โดยหากพบว่าผลตรวจเป็น Reactive คือ พบว่าอาจมีการติดเชื้อ จะต้องตรวจอีกครั้ง โดยครั้งนี้จะนำเลือดที่เจาะไปตรวจยืนยันโดยวิธีตรวจฉบับห้องปฏิบัติการ ในการตรวจนี้อาจจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน จึงจะทราบผล และหากผลออกมาเป็น Non-reactive คือ อาจจะไม่มีการติดเชื้อ ทางแพทย์และพยาบาลจะต้องประเมินว่าเป็นระยะฟักตัวหรือไม่โดยการพูดคุยกับเจ้าของผลเลือด ทั้งนี้จะรวมถึงประเมินความรู้สึก ความคิดและวางแผนร่วมกันในการดำเนินต่อเพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง การป้องกันตนเองไม่ให้แพร่เชื้อ และการเข้ารับการรักษาว่ามีสิทธิอะไรบ้างที่สามารถใช้ได้ และแนวทางการปฏิบัติตัว
– โดยหากผลเป็น Non- reactive จะทำการแจ้งผล และแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้ผลเลือดเป็นลบตลอดไป
นอกจากการไปตรวจตามโรงพยาบาล และคลินิกแล้ว ปัจจุบันยังสามารถหาซื้อชุดตรวจเอชไอวีมาตรวจด้วยตนเองได้แล้ว แต่เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น หากผลตรวจออกมาเป็นบวก ก็ต้องทำการไปตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลอีกครั้ง และหากผลออกมาเป็นลบก็ต้องพิจารณาว่าเป็นระยะ Window Period หรือไม่ โดยท่านอาจตรวจซื้ออีกที่ 30, 60 และ 90 วัน เพื่อความมั่นใจและความสบายใจ ที่สำคัญอย่าลืมเลือกชุดตรวจที่มีคุณภาพมีเลขอย. บ่งบอกทุกครั้ง