อาการของโรคเอดส์ ผู้ชาย ระยะแรก โรคเอดส์ คือ ระยะสุดท้าย ของการติดเชื้อ ไวรัสเอชไอวี HIV มีชื่อเต็มๆ ว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งมี ความหมายตรงตัว เลยว่า ไวรัสที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์บกพร่อง ดังนั้น เมื่อมนุษย์คนใด ได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าไป ระบบภูมิคุ้มกัน จะค่อยถูกทำลาย ด้วยไวรัสชนิดนี้ หากระบบภูมิคุ้มกันล้มเหลว ก็จะเกิดโรคแทรกซ้อน มากมาย ขึ้นกับเรา จนทำให้เรา ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ และนี่เรียกว่า ระยะเอดส์
อาการของโรคเอดส์ ผู้ชาย ระยะแรก หรือ ผู้หญิงระยะแรก มักไม่ได้ มีอะไร ที่แตกต่างกัน และอาการ จะหลากหลายมาก ๆ เหมือนกับว่า ไม่สบาย ด้วยไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว เจ็บคอ มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเนื้อปวดตัว ในช่วง 14 วัน และอาการ จะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการพื้นฐาน ที่ร่างกายตอบสนอง กับการที่มีสิ่งแปลกปลอม เข้ามาในร่างกาย
ระยะที่โรคสงบ จะรู้สึก เหมือนกับว่า ไม่ได้ป่วย สบายดี แข็งแรงดี แต่เชื้อนั้น พัฒนาอยู่ ในร่างกาย ขยายตัว เจริญเติบโต
ระยะที่สาม “โรคเอดส์” เป็นช่วงที่เม็ดเลือดขาว ของร่างกาย ถูกทำลายหนัก ระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายล้มเหลว จนอาจจะ มีโรคแทรกซ้อนเข้ามา ติดเชื้อฉวยโอกาส
ในระหว่าง ที่อยู่ในระยะสงบ ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะเอดส์ อาจจะพบอาการ ทางโรคผิวหนัง ที่รุนแรง ซึ่งคนทั่วไปสามารถ เป็นได้แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จะมีอาการที่หนักกว่า
โรคแทรกซ้อน ที่เกิดขึ้น ในระยะเอดส์ เช่น โรคที่เกิดจากการ ติดเชื้อราตามช่องปาก หลอดอาหาร บริเวณอวัยวะเพศ อีกทั้งยัง สามารถติดเชื้อ ที่อันตรายต่อดวงตา ปอด หลอดลม บางครั้ง ก็จะเป็นโรคยอดฮิต ของคนไทย คือ วัณโรค ซึ่งสามารถ เป็นมากกว่า โรคเดียวได้ ทำให้เสี่ยง ที่จะเสียชีวิตได้ง่าย
กว่าจะเข้าสู่โรคเอดส์ สามารถรักษาไม่ให้เข้าสู่โรคเอดส์ได้ หากตรวจพบแล้วเข้าสู่ระบบการรักษาทันที เท่าที่ทราบกันตอนนี้โรคเอชไอวียังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่การรักษาจะช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่ให้พัฒนาและเจริญเติบโตต่อได้ เมื่อรักษาไปนาน ๆ เชื้อไวรัสจะมีปริมาณต่ำลง และสามารถต่ำจนตรวจไม่เจอได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าหายแล้ว ยังคงต้องทานยาต่อไป
ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแน่
การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ไม่ได้ยาก ทุกคนสามารถทำได้ ท่องไว้ว่าหลีกเลี่ยง และตระหนักถึงความเสี่ยง ได้วิธีป้องกันมี ดังนี้
1. สวมใส่ ถุงยางอนามัย หากจะมีเพศสัมพันธ์
2. หลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่ไม่ใช่ คู่นอน หรือภรรยาของเรา
3. ไม่ใช้เข็มฉีดยา เข้าเส้น ร่วมกับผู้อื่น
4. เลือกสถานบริการ ที่ให้บริการสัก หรือเจาะ ที่ปลอดภัย ไว้ใจได้
5. ควรสวมใส่ ถุงยางอนามัย เมื่อมีเพศสัมพันธ์ แม้จะเป็นคู่นอนของเรา เพราะใคร ก็สามารถติด เชื้อเอชไอวีได้
6. ก่อนแต่งงาน ให้หาโอกาส มาตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย สบายใจ และเป็นการเช็ค ว่ามีโรคติดต่ออะไร ที่สามารถติดกัน ได้หรือไม่
7. ตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8. ทานยา Prep เพื่อช่วยป้องกัน ซึ่งมีประสิทธิภาพ ในการป้องกันความเสี่ยง ที่จะติดเชื้อเอชไอวี ได้มากถึง 90% จากการ มีเพศสัมพันธ์
ตรวจเอชไอวี กันเป็นประจำ ช่วยให้รู้เท่าทันโรค ลดโอกาส ในการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ช่วยลดจำนวน ผู้ที่จะติดเชื้อเอชไอวีลง และช่วยให้ เข้าสู่การรักษาได้ทัน ตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเอง สามารถทำได้บ่อย เท่าที่ต้องการ โดยอาจจะมอง เป็นตัวเลือกหนึ่ง ก่อนการเดินทาง ไปตรวจที่สถานพยาบาล
เพื่อช่วยลดระยะเวลา หากพบว่าตรวจคัดกรองแบบรู้ผลทันทีด้วยตนเองแล้วผลเป็นลบ ก็ช่วยให้สบายใจได้ในระดับหนึ่งและไม่ต้องเดินทางไปตรวจที่สถานพยาบาล อีกทั้งหาโอกาสตรวจอีกครั้งหลังสามเดือนที่ได้รับความเสี่ยงมา เพื่อรีเช็คผลเลือด และเพื่อความสบายใจ