วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ ยากหรือไม่ ควรดูแลผู้ป่วยอย่างไร และดูแลตัวเองแบบไหน เพื่อไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี

ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า โรคเอชไอวี (HIV) กับโรคเอดส์ (AIDS) แตกต่างกัน โดยโรคเอดส์เป็นภาวะขั้นสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการ ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันนี้หลายคนคงเคยได้ยินคำที่ว่า เลือดบวก และแน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้วต้องนึกถึงโรคเอดส์

 

ปกติแล้ว หากร่างกายของเราได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไปแล้ว เชื้อจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวให้เกิดการบกพร่อง ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการคล้าย ๆ กับเป็นไข้หวัดใหญ่ และจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็นอีกเลย

 

จึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว ไม่รู้ตัวว่าตนเองติดเชื้อ และเมื่อ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายถูกทำลายลงอย่างหนัก จนมีโอกาสที่โรคอาจพัฒนาไปสู่ระยะเอดส์อย่างเป็นทางการ

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโ คเอดส์จะเป็นโรคที่ร้ายแรง จนทำให้หลาย ๆ คนมีความกังวลใจว่า เราจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ผู้ป่วยติดเชื้อได้ หรือไม่

 

ดังนั้น อย่าพึ่งมี ความกังวลใจ เพราะโรคเอชไอวี หรือเอดส์ไม่ได้อันตราย อย่างที่คุณคิด

 

เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยติดเชื้อ ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่ต้องคอยดูแลตนเอง ตามคำสั่งของแพทย์ ด้วยการทานยาเป็นประจำเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อไวรัส

 

วิธี อยู่ ร่วม กับ คน ติด เชื้อ เอดส์ เมื่อคนในครอบครัว ของเราเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือ เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์ และเราจำเป็น ที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกับ ผู้ป่วย หลายคนมีความกังวลใจ ว่าจะต้องรับมือ อย่างไร สิ่งที่ควร ให้ความสำคัญก็คือ การหาความรู้เกี่ยวกับ โรคอย่างละเอียด

ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันการแพร่เชื้อ การรักษา รวมไปถึงการพาผู้ป่วย ไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอยู่เสมอ ซึ่งวิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ ผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่ได้ยุ่งยากอย่าง ที่ทุกคนคิด ถึงแม้ว่า หลายคนอาจจะยังมี ความกังวลอยู่บ้าง แต่หากอยู่ร่วมกัน อย่างถูกหลักการ ก็สามารถใช้ชีวิตด้วยกันได้ โดยที่ไม่มีความเสี่ยง

 

พฤติกรรมที่ทำแล้ว ไม่ติดเชื้อ

  • การใช้ช้อนกลาง ระหว่างรับประทานอาหารร่วมกัน
  • การกอด การซักเสื้อผ้าร่วมกัน แต่ทางที่ดีควรแยกซัก และสวมใส่ ถุงมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันผ้าที่ปนเลือด อุจจาระ ปัสสาวะ หรือแม้แต่สารคัดหลั่ง
  • การใช้ห้องน้ำ การใช้ครีมอาบน้ำ ยาสีฟัน เป็นต้น สามารถ ใช้ร่วมกันได้ แต่ต้องรักษา ความสะอาดอยู่เสมอ
  • ล้างมือเสมอ หลังจากการรับประทานอาหาร ร่วมกัน หลังการเข้าห้องน้ำ ควรล้างทำความสะอาดมือให้เรียบร้อย

 

พฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  • การใช้อุปกรณ์ ที่สัมผัสกับเลือด หรือ ของใช้ส่วนตัว ร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน กรรไกรตัดเล็บ หรือมีดโกน
  • ไม่ล้างมือ หลังจากการรับประทานอาหารร่วมกัน และหลังการเข้าห้องน้ำ
  • การมีเพศสัมพันธ์ แบบไม่ป้องกัน หากสามีภรรยา ที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กัน ต้องสวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ทั้งยัง ต้องระมัดระวัง เรื่องของการแพร่กระจายเชื้อ ระหว่างการ มีเพศสัมพันธ์ด้วย

 

ทั้งนี้หากไม่เข้าใจหรือสงสัยในส่วนใดก็ตาม ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัวผู้ป่วย เพื่อให้ได้คำตอบและแนวทางที่ถูกต้อง

นอกจากนี้แล้วผู้ที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ต้องมีความเข้าใจในตัวผู้ป่วย เข้าใจในโรคนี้ เพื่อให้ผู้ป่วย ไม่เกิดความเครียด และมีกำลังใจในการรักษา อีกทั้งผู้ดูแล ต้องดูแล ให้ผู้ป่วยทานยา ให้ตรงเวลา และครบถ้วนในทุก ๆ วัน

 

สำหรับผู้ที่รู้ตัวว่า ตนเองมีความเสี่ยง ที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี ก็ควรรีบเข้ารับ การตรวจหาเชื้อโดยเร็ว เพราะหากตรวจพบเชื้อเร็ว ก็ยังมีโอกาสในการรักษา โรคเอชไอวี และป้องกัน ไม่ให้เชื้อพัฒนาไปสู่ระยะ ที่รักษายาก คือ ระยะโรคเอดส์

 

ซึ่งปัจจุบันนี้มี ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ที่เป็นวิธีง่าย ๆ ให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยง ได้ทำการตรวจ คัดกรองเบื้อต้นด้วยตนเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือที่ไหน หากมีพื้นที่ที่สะอาด ก็สามารถ ทำการตรวจได้ด้วยตนเอง ง่าย ๆ  โดยชุดตรวจ มีความปลอดภัย แม่นยำ และได้มาตรฐาน สามารถรู้ผลได้ใน 15-20 นาที หากตรวจพบเชื้อ ก็สามารถเข้ารับการรักษา และรับยาต้าน ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม